วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

เรื่องหญิง หญิง






ภัยร้ายที่คุณมองข้าม






โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นอีกโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยสูงถึง 7 คนต่อวัน แต่เป็นโรคที่มีระยะการดำเนินโรคนานเป็นปีๆ และมีระยะก่อมะเร็ง จึงทำให้เราวินิฉัยพบและทำการรักษาตัดตอนก่อนจะลุกลามได้ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ถึงสาเหตุและการป้องกันแก่ประชาชนในวงกว้าง เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจและเพิ่มความตระหนักรู้ที่ถูกต้องแล้ว ยังจะลดอัตราการเกิดโรคและเสียชีวิตจากโรคร้ายนี้ ตลอดจนสูญเสียในครอบครัวและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย

โครงสร้างของปากมดลูก



โครงสร้างระบบอวัยวะสืบพันธ์ของคุณสุภาพสตร ีประกอบไปด้วยรังไข่ [ovary] ซึ่งต่อกับมดลูกโดยท่อรังไข่ [fallopian tube] มดลูก[uterus]อยู่ระหว่างทวารหนัก [rectum] และกระเพาะปัสสาวะ [bladder] มดลูกติดต่อกับช่องคลอด [vagina] โดยมีปากมดลูก [cervix] เป็นทางติต่อระหว่างมดลูกและช่องคลอด


ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก
การตรวจมะเร็งแรกเริ่ม

เป้าหมายของการค้นหามะเร็งเริ่มแรกคือการค้นหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ก่อนที่จะเกิดอาการของโรค การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกแรกเริ่มโดยมากมาจากการตรวจปากมดลูกประจำปี ในการตรวจภายในแพทย์ จะตรวจ มดลูก ช่องคลอด ท่อรังไข่ รังไข่ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณืถ่างช่องคลอดเพื่อทำ pap smear ช่วงที่เหมาะสมในการตรวจภายในคือ10-20 วันหลังประจำเดือนวันแรก และก่อนการตรวจ 2 วันไม่ควรสวนล้าง ยาฆ่า sperm หรือยาสอด ปัจจุบันการรายผลจะใช้ Low หรื High grade SIL มากกว่า class1-5 แต่อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์อธิบายผลให้ฟังอย่างละเอียด ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรตรวจภายในประจำปี
อาการของมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อเป็นมะเร็งแล้วจะมีอาการเลือดออกหลังจากการตรวจภายใน หรือหลังร่วมเพศ หรือมีตกขาว
มีเลือดออกผิดปกติ เช่นเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธุ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยะ ประจำเดือนมานานผิดปกติ เลือดออกหลังจากตรวจภายใน
มีอาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน
มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเสี่ยงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น มะเร็งแต่ละชนิดจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลุกได้แก่
การติดเชื้อ
HPV หรือการเป็นหูดที่อวัยวะเพศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งปากมดลุก
การสูบบุหรี่ ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึนสองเท่า
การรับประทานยาคุมกำเนิด
ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสุภาพสตรี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลุกเพิ่มขึ้น
การติดเชื้อ Chlamydia
พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
อาหาร ผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้
ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
การมีบุตรหลายคนเชื่อว่าจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอรฺโมนทำให้ติดเชื้อ HPV ง่าย และขาดการป้องกันการติดเชื้อ
ผู้ที่มีเศรษฐานะต่ำเนื่องจากเข้าถึงบริการไม่ทั่วถึง
ผู้ที่ได้ยา Diethylstilbestrol (DES) เพื่อป้องกันแท้ง
การวินิจฉัย
จากการทำ pap test ทำให้ทราบว่ามีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะทำการตรวจ Colposcopy โดยการส่องกล้องแล้วเอา iodine ป้ายบริเวณปากมดลูก เซลล์ปกติจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนเซลล์ผิดปกติจะเป็นสีขาวหลังจากนั้นแพทย์จะเอาชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจซึ่งมีวิธีตรวจต่างๆตามแต่แพทย์จะเห็นสมควร






ขอบคุณ : บทความจาก


http://www.siamhealth.net/

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

คนยุคใหม่ต้องไร้พุง


10 ท่า เพื่อหุ่นสวย สุขภาพดี

หลายคนก่อนจะออกกำลังกายมักจะอ้างเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวกับอากาศ ทั้งหมดเป็นข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาย แต่ลืมไปว่าการออกกำลังกายอาจจะให้ผลดีมากกว่าสิ่งที่เขาเสียไป

เป็นที่น่าดีใจว่าการออกกำลังให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลามากมาย เพียงแค่วันละครึ่งชั่วโมงก็พอ และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่หรือเครื่องมืออะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่น มีพลังที่จะทำงานและต่อสู้กับชีวิต นอกจากนั้นยังสามารถลดความเครียดได้ด้วย

ผลต่อโรคความดันโลหิตสูง(140/90)


ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 35%
การออกกกำลังอย่างสท่ำเสมอจะลดทั้งความดัน systole และ diastole อย่างชัดเจน
คนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะมีอัตราการเสี่ยงชีวิตจากโรคแทรกซ้อน น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลัง
การออกกำลังจะช่วยเพิ่มอายุ 1-1.5ปี

ผลต่อโรคเส้นเลือดสมอง


อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลงเมื่ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
เมื่อขึ้นบันไดวันละ 20 ขั้นจะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงร้อยละ 20
ผู้ที่ออกกกำลังกายโดยการเดินเร็วๆสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงจะมีอุบัติการของโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงร้อยละ 40


ผลต่อโรคเบาหวาน


ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีโอกาสการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 42
ผู้ออกกกำลังมากจนกระทั่งเหงื่อออก 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะมีอุบัติการของการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 22


ผลต่อหัวใจ


ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะมีโอกาศเสียชีวิตเป็นสองเท่าของผู้ที่ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น
การออกกำลังกายจะทำให้หัวใจสะสมพลังงานไว้ใช้เมื่อเวลาหัวใจต้องทำงานหนัก
เพิ่มความแข็งแรงในการบีบตัวของหัวใจ
ลดระดับไขมันในเลือด เพิ่มระดับ HDL (ซึ่งเป็นไขมันที่ดี)
ลดระดับความดันโลหิต ลดการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานน้อยลง




ผลต่อมะเร็ง

การออกกำลังกายจะลดการเกิดโรคมะเร็งได้ร้อยละ 46



ผลต่อคุณภาพชีวิต

การออกกำลังกาย 1500 กิโลแครอรีต่อสัปดาห์(ออกกำลังกายหนักปานกลาง)จะเพิ่มอายุ 1.57 ปีและลดอุบัติการการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลงร้อยลง 67
สำหรับผู้สูงอายุทุก 1 ไมล์ที่เดินจะลดอุบัติการเสียชีวิตลงร้อยละ 19
การออกกกำลังอย่างสม่ำเสมอ(อายุ 45-84)จะลดการเสียชีวิตร้อยละ 18


ขอบคุณ : บทความจาก

http://www.siamhealth.net/


My friends